ทองพลอย50

รูปภาพของฉัน
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านแดง

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระนางพญา

พระนางพญา
           วันนี้หยิบหัวข้อนี้ขึ้นมาเขียน นั้นอันที่จริงข้าพเจ้าก็ไม่ใช่เซียนพระ  และไม่มีความรู้เรื่องพระเท่าไหร่หรอกค่ะ  แต่เขียนถึง "พระนางพญา" เหตุเพราะว่า มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านเข้ามาทัก และจะมอบ "พระนางพญา" ที่ตนเองเช่ามาหมาดๆ มาให้ข้าพเจ้าเช่าต่อ  ท่านพระนี้เหมาะกับข้าพเจ้า อยากให้ข้าพเจ้าได้เป็นเจ้าของ  ข้าพเจ้าก็ได้ขอบคุณท่านที่มีน้ำใจนึกถึงข้าพเจ้า โดยนำพาสิ่งดีมามอบให้  และ เมื่อพร้อมจะไปขอเช่าจากท่านต่อไป  ให้ท่านได้เก็บรักษาไว้ก่อน  
               ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงอยากทราบประวัติ ความเป็นมาของ "พระนางพญา"  จึงได้ค้นหาข้อมูล เมื่อพบแล้วจึงประสงค์จะเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้อ่านเป็นความรู้ไว้เช่นกันค่ะ ต้องขอขอบคุณ  http://pranangpaya.com/  มา ณ  โอกาสนี้ด้วยนะคะ



             ประวัติและสาเหตุของการสร้างพระนางพญา

                      หลังจากการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระสุริโยทัย พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กษัตริษยืพม่าได้ล้อมกรุงศรอยุธยาเป็นเวลานานสองเดือนไม่สามารถบุกยึดตีดรุงศรีอยุธยาได้ ทั้งนี้เนื่องจากมีขุนพิเรนทรเทพ (พระมหาธรรมราชาที่ 3) เป็นแม่ทัพผู้นำทหาร ทหารเอกของขุนพิเรนทรฯ นั้นมีความหมายสามารถในการรบกล้าหาญชาญชัย ทหารทุกคนต้องมีพระเครื่องที่สำคัญเป็นกำลังใจในการออกรบทุกครั้ง พระเครื่องในสมัยนั้นที่นิยมได้แก่ พระชินราชใยเสมาเนื้อชิน นำมาแขวนคอโดยใช้เชือกหรือลวดถักเป็นตาข่าย และพระวัดจุฬามณี (สร้างในสมัยพญาลิไท) นิยมพันกับผ้าประเจียดมักที่แขน นอกจากนี้ยังมีพระเครื่องตระกูลลำพูน พระเครื่องตระกูลกำแพงเพชร และพระเครื่องตะกูลสุพรรณบุรี
ในการสร้างวัดและสร้างพระในสมัยพระมหาธรรมราชธิราช จะทำอย่างเปิดเผยไม่ได้ อีกประการหนึ่งศิลปะในการสร้างนั้นแตกต่างกับการสร้างพระเครื่องในสมัยพญาลิไท เพราะบ้านเมืองอยู่ในความสงบ ร่มเย็น พระครื่องจึงมีพุทธศิลป์ที่สวยงาม เช่น พระชินราชใบเสมา พระจุฬามณี
               พระนางพญา ออกแบบด้วยไม้มงคลแกะสลัก เป็นต้นแบบศิลปะสมัยอยุธยาแบบ ง่ายๆ แต่แฝงความหมายอย่างลึกซึ้ง
ความหมายที่หนึ่ง สามเหลี่ยมนั้นเป็นสัญลักษณ์ของธาตุไฟ หมายถึง ความคงกระพันชาตรีเป็นหลัก
ความหมายที่สอง หมายถึงปัญญาหลักแหลม ชาญฉลาด
ความหมายที่สาม หมายถึงพระจะต้องมีฐานตั้งบูชาได้ หลังจากการติดตัวไปรบกลับมา ทั้งยังทรงพลังในอำนาจของพีรามิดอีกด้วย ทัศนคติความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่การสร้างพระรอดยุคแรกในสมัยของพระนางจามเทวีอีกด้วย และเป็นที่สังเกตอีกประการหนึ่งคือ พระเครื่องที่าร้างโดยพระฤาษีนั้น ส่วนใหญ่จะตั้งบูชาได้เช่น
  1. พระรอดพิมพ์ใหญ่ บุคแรก
  2. พระซุ้มกอ
  3. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
  4. พระนางพญา
ซึ้งพระเครื่องดังกล่าวนี้เป็นพระเบญจภาคี ที่มีเนื้อดินผสมว่านเกสร และพระธาตุเป็นหลัก
          รูปพระนางพญา เนื้อพระแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
  1. ชนิดเนื้อละเอียดปนหยาบ พระพิมพ์เนื้อชนิดนี้จะสวยงามในทางสุนทรียภาพสวยงาม หนึกหนุ่มกว่าพระชนิดอื่น บางคนนิยมเรียกว่า เนื้อกระดูก มีความแข็งแกร่งพอสัมผัสกับเหงื่อจะมีความสวยตามธรรมชาติ พระเนื้อนี้จะเป็นเนื้อที่นิยมมากกว่าเนื้อพระชนิดอื่น
  2. ชนิดเนื้อหยาบ เนื้อชนิดนี้เซียนโบราณนิยมแต่ไม่สวย เนื้อพระผุ ขาดความงามทางสุนทรียภาพ
  3. ชนิดเนื้อแก่แร่ เนื้อพระชนิดนี้เนื้อพระจะปรากฎมวลสารเม็ดใหญ่โผล่มาให้เห็นชัดเจน พอสันนิษฐานได้ว่าสร้างโดยสมเด็จพระวิสุทธิกษตริย์ (พระราชามารดาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระดินเผาผสมว่านเกสรและแร่ พุทธลักษณะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยา ในทรางสามเหลี่ยม มีขนาดต่างๆ
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้งหน้าพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงพระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://pranangpaya.com/   17  ธันวาคม 2555  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น